โครงสร้างภายในของแบตเตอรี่ Lithium-ion Battery 18650
0

ชื่อแบตเตอรี่ 18650 นั้นมาจากขนาดของตัวมันเอง (เส้นผ่านศูนย์กลาง 18mm x ความยาว 65mm) ซึ่งมีการใช้งานแบตฯชนิดนี้มานานแล้วในอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ เพียงแต่มาในรูปแบบแพ็ค ผู้บริโภคอย่างเราๆจึงยังไม่คุ้นเคยเท่าไร แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้แบตเตอรี่ 18650 เนื่องจากสามารถจ่ายกระแสได้สูงกว่าแบตเตอรี่ขนาด AA และให้ความจุที่มากกว่า จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในการใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อาทิเช่น ไฟฉายแรงสูง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค สว่านไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น โซล่าเซลส์ มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า พัดลมพกพา เลเซอร์พ้อยเตอร์ แบตเตอรี่สำรอง พาวเวอร์แบงค์ ฯลฯ แต่ด้วยแบตฯชนิดลิเธียม 18650 ไม่เหมือนแบตฯทั่วไป NiMH หรือแบตเตอรี่แห้ง ดังนั้นจึงมีการออกแบบโครงสร้างภายในให้พิเศษกว่า ในรูป Separators (ตัวกั้น) ก็คือ แผ่นฉนวนพลาสติกบางๆที่ใช้สำหรับแยก ขั้วแอโนด(+)ออกจากแคโทด(-) ตามคำจำกัดความ มันต้องมีรูพรุนเพียงพอเพื่อให้ไอออนเคลื่อนย้ายไปมา ระหว่างการชาร์จและดิสชาร์จ แต่รูพรุนต้องไม่มีขนาดเดียวกัน ขนาดของรูต้องเล็กพอ เพื่อป้องกันอีเล็กโตไลค์จากการโยกย้ายไปมา Separators ใน 18650 ทำจาก PolyPropylene (PP) สองชั้น และซ้อนด้วย PolyEthylene (PE) ระหว่างกลาง โครงสร้างส่วนประกอบนี้ทำให้เซลส์ทำงานได้ดี (ภายใต้สภาวะปกติ) แต่เมื่อเซลส์ร้อนขึ้นอย่างรุนแรง (ที่ 135C / 275F) Separators จะละลาย เพื่อจำกัดการโยกย้ายของไอออน การคายประจุของเซลส์จะปิดตัว ส่วน CID นั้นจะเป็น Valve ป้องกันความดันภายในของเซลส์ เพื่อไม่ให้เกินพิกัดจนอาจนำไปสู่การระเบิดได้ โดย Valve ตัวนี้จะทำหน้าที่ตัดการทำงานของเซลส์แบบถาวร ทำให้ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาวะเดิมได้อีก(ใช้การไม่ได้) หากสังเกตที่ขั้วแอโนด(+) ของแบตเตอรี่จะพบว่ามีรูที่ถูกออกแบบไว้สำหรับระบายแก๊สหากพบว่ามีแรงดันผิดปรกติภายในเซลส์นั่นเอง

Leave a Comment

0

TOP

X